ระบบ จำลองข้อมูลสำหรับทำ Mock up เท่านั้น ไม่ใช่ข้อมูลจริง

คนข้าวยาคู้ช้างม่อย

คนข้าวยาคู้ช้างม่อย [ วัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ ] Last update 2024-11-18 15:33:19

670 Views
ผู้สนใจ คน

Learning City  

ประเด็นปัญหา / โอกาสของโครงการ / กิจกรรม

“กลไกการอยู่ร่วมกัน” ของผู้คนในย่านนั้น ถูกทีมวิจัยผลักดันด้วยการใช้เทศกาลเป็นกลไก คนข้าวยาคู้ช้างม่อย จึงเป็นมากกว่าประเพณีที่ชุมชนช้างม่อยทำ แต่เป็นงานที่รวบรวมผู้คนสร้างความเป็นหนึ่งเดียว และทำให้เกิดการฮอมคัวฮอมแรง เป็นกลไกการร่วมมือของทั้งผู้คนดั้งเดิม ชาวศรัทธาวัดชมพู ผู้ประกอบการใหม่ ทำให้ชุมชนสามารถขับเคลื่อนเทศกาลภาคประชาชนที่ ทุกคนเป็นเจ้าภาพได้ จนเกิดเป็นงานเทศกาลใหม่บนพื้นที่ชุมชนใหม่ จากซุ้มทางเข้าวัดชมพูเดิมทิศเหนือไปเชื่อมกับลานวัดชมพูและออกไปยังประตูวัดทางทิศตะวันออก ทำให้เมืองสามารถเล่าเรื่องชุมชนหัววัดในอดีตและการเชื่อมต่อกับย่านพาณิชยกรรมในปัจจุบันไ่ด้ เทศกาล “คนข้าวยาคู้ช้างม่อย” จึงเป็นการสร้างความร่วมมือใหม่ที่เน้นคนทุกวัยมาร่วมกัน

กลไก/กระบวนการ/รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

สารคดีคนข้าวยาคู้ช้างม่อยนี้ ตีแผ่การทำงานและความหมายของเทศกาล ผ่านการทำงานของทีมวิจัย ตั้งแต่การเตรียมงาน การทำซุ้มประตูป่าร่วมกัน การจัดเทศกาลคนข้าวยาคู้ผ่านความร่วมมือของคนทุกฝ่าย โดยมีพระอาจารย์พิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดชมพู และป้าดา วินลดา หัวหน้าชุมชนช้างม่อย ร่วมกับจิรันธนิน กิติกา นักวิจัยที่เป็นผู้ถ่ายทอดและเล่าข้อมูลในคลิป ถ่ายทำวันที่ 15-19 พฤศจิกายนพ.ศ. 2564

ทรัพยากรในพื้นที่

หมวดหมู่ :
รายละเอียด : TRL0

ผลผลิตของโครงการ/กิจกรรม

เป็นการสร้างความร่วมมือใหม่ที่เน้นคนทุกวัยมาร่วมกัน

ผลลัพธ์ของโครงการ/กิจกรรม

คลิปสารคดีนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ โครงการวิจัยย่อย 2: การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเมืองผ่าน ผู้คนและชุมชนทางสังคม จัดทำโดย ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา และผู้ช่วยวิจัย ธนิยาภรณ์ ศรีหาตา, พร้อมพล ใจแสน ร่วมกับทีมถ่าย-ตัดต่อโดย ทีมน.ศ.คณะนิเทศฯ ม.แม่โจ้ #คนข้าวยาคู้ช้างม่อย ยี่เป็งโดยภาคประชาชน

กลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์

1. ประชาชนทั่วไป จำนวน 30 คน
2. ผู้ประกอบการ จำนวน 25 คน

พื้นที่ที่รับผลประโยชน์

ตำบล : วัดเกต อำเภอ : อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัด : เชียงใหม่




แผนที่

QR code