อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา

ที่มาที่ไป


ปัจจุบันริมกว๊านพะเยามีชุมชนตั้งอยู่รายรอบรวมแล้วกว่า 6 ตำบล และยังเป็นที่ตั้งของพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยา ศูนย์กลางการพัฒนา และความเจริญของจังหวัดพะเยา ด้วยความพร้อมเช่นนี้พื้นที่ชุมชน ริมกว๊านจึงเหมาะสมสำหรับการพัฒนา ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และส่งเสริมการพัฒนาเมืองตามแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ UNESCO
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ประกาศให้เทศบาลเมืองพะเยาเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) พร้อมกับเมืองสุโขทัย และหาดใหญ่ อันเป็นผลจากความร่วมมือในการยื่นเอกสารระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาเมื่อปลายปีที่แล้ว
นอกจาก 3 เมืองแห่งการเรียนรู้ใหม่หมาดที่ได้รับการรับรองปัจจุบันประเทศไทยเรามีเมืองที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้อีก 4 เมือง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนครภูเก็ต และเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ทั้งนี้ หากเทียบกับทั้ง 7 เมืองแห่งการเรียนรู้ของบ้านเราเทศบาลเมืองพะเยาที่มีพื้นที่อยู่ราว 9 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรไม่ถึง 20,000 คน เป็นเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าใครเพื่อนจนแทบจะจินตนาการไม่ออกเลยว่า ด้วยขนาดกะทัดรัดเพียงนี้พะเยาจะมีแหล่งเรียนรู้อะไรมากมายถึงได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ต้นแบบระดับสากล



พื้นที่ดำเนินการ


1. พะเยา (เขตเทศบาลเมือง /เขตเทศบาลตำบลบ้านสาง /อำเภอแม่ใจ /อำเภอดอกคำใต้ /อำเภอภูกามยาว /อำเภอจุน /อำเภอปง /อำเภอเชียงคำ /อำเภอเชียงม่วน /อำเภอภูซาง)



ประเด็นปัญหา/โอกาสในพื้นที่


กลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เมืองพะเยาสู่เมืองสร้างสรรค์เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสังคมที่ยั่งยืนบนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา การศึกษานอกระบบจังหวัดพะเยา (กศน.) ภาคเอกชน และ ภาคีเครือข่ายระดับนานาชาติ



ประเด็นการขับเคลื่อน


1. สร้างพื้นที่การเรียนรู้
2. เตรียมพื้นที่เข้าสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก
3. จัดทำหลักสูตรชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน (Local Study)
4. ผลิตภัณฑ์ใหม่ในโครงการสามารถลด Carbon Credit
5. แพลตฟอร์มการเรียนรู้
6. เครื่องมือสำรวจเส้นทางและทรัพยากรของเมืองพะเยา
7. แหล่งกิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่ 9 อำเภอ และเส้นทางการเรียนรู้
8. ผลิตภัณฑ์ BCG โมเดล
9. แนวทางหรือคู่มือการปฏิบัติตามหลัก BCG โมเดล ลดการปลด



หลักสูตรการเรียนรู้


โครงการ "กลไกการบริหารและพัฒนาเส้นทางแห่งการเรียนรู้ในเขตเมืองพะเยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบด้วย BCG โมเดล" ดำเนินการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ สังกัด คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้นำศักยภาพและความโดดเด่นระบบนิเวศริมกว๊าน และความรู้ความสามารถของคนพะเยา ผสานพลังความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งจังหวัด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา เทศบาลตำบล หอการค้าจังหวัดพะเยา หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) และ ชุมชนเมืองพะเยา ขับเคลื่อนโครงการวิจัยพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพและทักษะคนพะเยา ทั้งในเรื่องการเรียนรู้คุณค่าของพื้นที่ตนเอง และการสร้างอาชีพ ขยายโอกาสสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และประชาชนทั่วไป โดยกำหนดเป้าหมายของการขับเคลื่อนงานวิจัย ไว้ดังนี้
1) เพื่อพัฒนาแรงงานนอกระบบอายุ 15 ปีขึ้นไปเข้าถึงการกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตร "UP to Upskill / Reskill/ Newskill" 3 หลักสูตร ที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของ BCG โมเดล มีคุณภาพจากมหาวิทยาลัยพะเยาได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน และมีการกลับมาใช้บริการซ้ำไม่ต่ำกว่า 50%
2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชุดความคิด (Mindset) รวมถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับรายได้บนพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ 3) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของชุดความคิด (Mindset) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมแรงงานนอกระบบรอบกว๊านพะเยา
4) เพื่อสร้างโมเดลการสร้างรายได้จากการเรียนรู้กิจกรรมในหลักสูตร "UP to Upskill / Reskill/ Newskill" 3 หลักสูตร ที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของ BCG โมเดล ด้วยแผนและยุทธ์ศาสตร์การวิจัย ที่มุ่งเน้นการใช้ข้อมูลท้องถิ่นศึกษา (Local Study) การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Analysis) อย่างเข้าใจลึกซึ้ง และการออกแบบกลยุทธ์การมีส่วนร่วมที่จับใจ และตอบโจทย์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนประสบความสำเร็จใน 2 กลุ่มพลังสำคัญ ได้แก่ กลุ่มชุมชนและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และกลุ่มองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ.พะเยา และเทศบาลเมืองพะเยา ทำให้การขับเคลื่อนงานวิจัยเกิดผลสัมฤทธิ์ 12 ประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ
1. พะเยา ได้ถูกเสนอชื่อเป็นอันดับที่ 1 ให้เป็นสมาชิกเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO Global Network of Learning Cities ในปี 2565
2. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ "พะเยา เมืองแห่งการเรียนรู้ (Phayao Learning City)"
3. มีแหล่งเรียนรู้ Phayao Learning City และเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Route) รอบกว๊านพะเยา ที่เชื่อมโยงกับศักยภาพของพื้นที่ ผู้คน และตอบโจทย์ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
4. หลักสูตร "UP to Reskill/ Upskill" 2 หลักสูตรหลัก 3 หลักสูตรย่อย ที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของ BCG โมเดล ได้แก่ หลักสูตรสินค้าท้องถิ่นสู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อสังคม (Local Products to Social Innovation) และหลักสูตร การใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ด้วยผลิตภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม (Creative Activities for the Green World)
5. จัดกิจกรรรมในหลักสูตร หลักสูตรสินค้าท้องถิ่นสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม (Local products to social innovation) ทำให้เกิดเป็น Social Enterprises ระหว่างวิสาหกิจชุมชนกลุ่มบ้านรักขนมร่วมกับบริษัท สยามฮาร์บาล่า โฮลดิ้ง จำกัด - SIAM HARBALA COMPANY LIMITED
6. ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นที่ได้รับการพัฒนาจากทางโครงการด้วยหลักการ BCG โมเดล ลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ถึง 4.2147 kgCO2e โดยคิดเป็น 9.68% ของการปลดปล่อยคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด
7. ออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ทำให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ 15 แห่ง รวม 1 เส้นทางการเรียนรู้ที่พร้อมสร้างรายได้ (Phayao Learning Route) เข้าสู่ชุมชนริมกว๊านฝั่งตะวันออก ราว 448,419 บาท/ ปี
8. สร้าง 3 แพลตฟอร์มการเรียนรู้ (Learning Platforms) คือ แหล่งเรียนรู้ (Onsite), Facebook Page (Online) และกับ หลักสูตรและกิจกรรมที่พร้อมสำหรับผู้ที่สนใจ (On-demand)
9. สร้างตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชน 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) น้ำผึ้งหยดทอง 2) สบู่นนดา 3) ตะกร้าเดคูพาจสานสุข 4) กระเป๋าสุนทรียา 5) บ้านรักขนม 6) ข้าวผ่อโต้ง 7) แหนมทัพพีเงิน 8) ชาสมุนไพรเชียงดา
10. จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสูงวัย สังกัด ศพอส. เทศบาลเมืองพะเยา ในชื่อ 'วิสาหกิจชุมชนสานใจฮัก' นำโดย คุณพิมวิไล วงค์เรือง และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มบ้านรักขนม นำโดย คุณปาณิสา ดวงทิพย์
11. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา จัดตั้งกองการศึกษา เป็นกองงานใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยมีนายอัษฎากรณ์ ฉัตรานนท์ เป็นเลขานุการรับผิดชอบกองการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา
12. ผู้เข้ามาเรียนรู้กับ Phayao Learning City มีจำนวนรวม 51,401 คน ส่วนสัดส่วนการกลับมาเรียนรู้ซ้ำมีค่าเท่ากับ 31.60%
แม้วันนี้เมืองพะเยาจะได้รับการรับรองโดย UNESCO ในฐานะสมาชิกเมืองแห่งการเรียนรู้ แต่เป้าหมายของทีมวิจัย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังคงได้รับการสานต่อไม่หยุดนึ่ง ทั้งการดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่อง การผลักดันรูปธรรมความเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อยกระดับทักษะรายได้ และคุณภาพชีวิตของคนพะเยา และการเดินหน้าเต็มกำลังในการผลักดันเมืองพะเยาให้ได้รับการรับรองเป็น "เมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO" ในอนาคตอันใกล้



กลไกการจัดการเมือง


เมืองพะเยามุ่งเน้นพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้โดยใช้กลไกหลักดังนี้
1) ความร่วมมือระหว่างภาคส่วน
1. การทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม
2. เชื่อมโยงเครือข่ายระดับชุมชนและระดับจังหวัด
2) การสร้างพื้นที่และโอกาสในการเรียนรู้
1. พัฒนา Learning Space ในพื้นที่ชุมชน
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของพะเยา
3) ใช้ข้อมูลเมืองและองค์ความรู้ท้องถิ่น
1. สำรวจข้อมูลและแนวโน้มของเมือง
2. นำข้อมูลไปออกแบบหลักสูตรหรือแนวทางพัฒนาเมือง



นักจัดการเมือง




ข้อมูลเมือง


1. สภาพแวดล้อมและศักยภาพของเมืองพะเยา เป็นเมืองขนาดกลาง มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่โดดเด่น โดยเฉพาะกว๊านพะเยา มีศักยภาพด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม
2. ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ขาดพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การเข้าถึงการศึกษาและทักษะใหม่ ๆ ยังไม่ทั่วถึง และปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำในกว๊านพะเยา
3. โครงการและแนวทางพัฒนา Learning City พัฒนาโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น โครงการด้านการเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เหมาะสมกับประชากรทุกช่วงวัย และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคธุรกิจและการศึกษา