อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา

ที่มาที่ไป


ผังเมืองยะลา สร้างในสมัยพระรัฐกิจวิจารณ์ (อดีตข้าหลวงประจำจังหวัด) และนายกเทศมนตรีคนแรกของ เมืองยะลา ในช่วง พ.ศ.2480 - 2488 โดยมีที่ปรึกษาเป็นชาวอังกฤษร่วมออกแบบวางผังเมือง และเมื่อปี 2560 ยะลาได้รับรางวัล UNESCO Cities ให้เป็น ผังเมืองที่ดีที่สุด อันดับที่ 23 ของโลก แม้จะผ่านมา 85 ปีแล้ว และปัจจุบันผังเมืองได้รับการพัฒนาไปตามบริบทของเมืองตามกาลเวลา แต่ทว่ายังคงเค้าเดิมอยู่ โดยพื้นที่บริเวณในสุดคือที่ตั้งของศาลหลักเมือง ซึ่งจะถูกล้อมวงด้วยถนนอันนับเป็นวงที่หนึ่ง ให้เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการต่างๆ เช่น ศาลากลางจังหวัด สำนักงานเทศบาล สำนักงานที่ดิน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ฯลฯ วงเวียนที่สอง คือ บ้านพักข้าราชการ และวงเวียนที่สามสุดท้ายเป็นที่ตั้งของ สถาบันการศึกษา โรงเรียน โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยของประชาชน มีทางเดินเท้าและช่องทางจักยาน อีกทั้งมีการปลูกต้นประดู่ไว้ที่เกาะกลางถนนแล้วดัดกิ่งให้โน้มลงมาเป็นซุ้มสวยงามทุกถนนทำให้ยะลามีความร่มรื่นเขียนขจีทั้งปี สมกับการได้รับยกย่องให้เป็นอุทยานนคร



พื้นที่ดำเนินการ


1. เทศบาลนครยะลา เป็นศูนย์กลางหลักในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ 2. อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park Yala) พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป 3. ชุมชนต่าง ๆ ในเมืองยะลา เป็นพื้นที่ศึกษาและออกแบบพื้นที่เรียนรู้ผ่านโครงการ Yala Stories 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของเมือง 5. ศูนย์การเรียนรู้และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ใช้เป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น ในงาน Yala Stories 6. เครือข่ายเยาวชนและสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) เป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับเมืองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผ่านศิลปะและวัฒนธรรม



ประเด็นปัญหา/โอกาสในพื้นที่


1) ปัญหา 1. ขาดพื้นที่การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนทุกกลุ่มได้มีส่วนร่วม 2. การขาดความเข้าใจในคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) โอกาส 1. มีข้อมูลเมืองที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งประวัติศาสตร์ ภาษา ศิลปะ และชีวภาพ 2. การสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม 3. การพัฒนาเมืองยะลาให้เป็นต้นแบบการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ได้ ประเด็นการขับเคลื่อน 1. เกิดข้อมูลศักยภาพเมืองยะลา 2. กลไกความร่วมมือระดับเมือง (Local Collaboration) 3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนยะลาและเมืองอื่น ๆ



ประเด็นการขับเคลื่อน




หลักสูตรการเรียนรู้


1. หลักสูตรท้องถิ่นเมืองยะลา โดย สำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา 2. หลักสูตรแกนกลางจังหวัด โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 3. กิจกรรม Yala Stories ที่ใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นเครื่องมือพัฒนาเยาวชนให้เข้าใจรากฐานวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง 4. การสร้างพื้นที่เรียนรู้ผ่าน TK Park Yala เพื่อขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้



กลไกการจัดการเมือง


) การขับเคลื่อนเมืองผ่าน โครงการวิจัย 3 ส่วน ได้แก่ 1. ศึกษาทุนทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม 2. ออกแบบพื้นที่เรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วม 3. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระดับเมือง 2) การบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อพัฒนายะลาเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 3) การใช้กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเมือง



นักจัดการเมือง


ในห้วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ภาพจำของสามจังหวัดชายแดนใต้ในสายตาของคนไทยโดยทั่วไป ล้วนมีฐานมาจากการรับรู้จากข่าวสารจากสื่อ ในประเด็นที่ไม่หลากหลายมากนัก ส่วนใหญ่มักเน้นปัญหาที่ปะทุขึ้นในห้วงเวลาสั้นๆ สวนทางกับความเป็นจริงในพื้นที่ซึ่งจะสัมผัสรับรู้ได้จากการลงพื้นที่จริงเท่านั้น ความเป็นจริงที่ว่าการอยู่ร่วมกันของคนยะลาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิต แท้จริงแล้วมีความกลมเกลียวและพึ่งพาอาศัยกันอย่างพี่น้องเหนียวแน่นคือความเป็นไปที่ดำรงอยู่อย่างเป็นปกติ เรียบง่าย ดั่งลมหายใจเข้าออก โครงการวิจัย "ยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้: กระบวนการสร้างสรรค์เมืองแบบมีส่วนร่วมบนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม" ดำเนินการในปี 2564-2565 โดย นายอภินันท์ ธรรมเสนา นักวิชาการจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นหัวหน้าชุดโครงการวิจัย ร่วมด้วย คณะวิจัยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร นักวิชาการจากสถาบันไทยศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี และเทศบาลนครยะลา เป้าหมายของโครงการวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองยะลาให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) บนฐานของสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีความน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ผ่านการขับเคลื่อนและนำเสนอข้อมูล องค์ความรู้ วิถีชีวิต คุณค่า กับความงดงามของการอยู่ร่วมกัน ผนวกเข้ากับการมีส่วนร่วมจากคนยะลาทุกภาคส่วน ในการสร้างสรรค์และพัฒนาเมืองเพื่อ "พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยะลา" ชุดโครงการนี้ประกอบด้วย 4 โครงการย่อยด้วยกัน ได้แก่ โครงการย่อยที่ 1 โครงการยะลาศึกษา : ความหลากหลายของผู้คน ชุมชน และวัฒนธรรม โดย รศ. ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ สังกัด สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โครงการย่อยที่ 2 โครงการยะลาศึกษา : ความหลากหลายทางชีวภาพ Yala Studies : Biodiversity โดยนางสาวศุภราภรณ์ ทวนน้อย สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โครงการย่อยที่ 3 โครงการ "ยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้ : การพัฒนาต้นแบบพื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและบูรณาการการเรียนรู้ในบริบทชีวิตจริงสำหรับทุกคน" โดย วรานุช ชินวรโสภาค นักวิชาการอิสระ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โครงการย่อยที่ 4 โครงการ เครือข่ายทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดย นายอภินันท์ ธรรมเสนา สังกัด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย



ข้อมูลเมือง


ชื่อเมือง : ยะลา (Yala) สถานะ : จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่ : ประมาณ 4,521.078 ตารางกิโลเมตร ประชากร : (ข้อมูลปี 2566) ประมาณ 617,146 คน ภาษา : ภาษามลายูถิ่น, ภาษาไทย, ภาษาจีน ศาสนา : (ข้อมูลปี 2565) อิสลาม ร้อยละ 81.95 พุทธ ร้อยละ 17.93