เชียงใหม่ "เมืองร้อยแนวคิด" สมญานามนี้ฟังแล้วไม่เกินจริง ที่ผ่านมาเกินกึ่งศตวรรษ เมืองเชียงใหม่ถูกนิยามและวางแผนพัฒนาเมืองให้เติบโตในแง่มุมอันหลากหลายและต่อเนื่อง นับจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 ปี 2504 การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใน ปี 2507 การยกระดับเมืองเป็นศูนย์กลางภูมิภาคในช่วงทศวรรษปี 2530 ซีเกมส์ครั้ง18 ปี 2538 สถานะเมืองท่องเที่ยวสำคัญต้องห้ามพลาดในแคมเปญ Amazing Thailand ปี 2541รวมถึงการเป็นตัวอย่างของการเป็นเมืองวนานครเมืองน่าอยู่ Smart City เมือง Digital Nomad เมืองมรดกโลก และเมืองสร้างสรรค์ด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
เรื่องนี้นอกจากจะบอกถึงศักยภาพของเมืองที่ไม่เป็นสองรองใครยังสื่อถึงกิจกรรมจำนวนมหาศาลที่ถูกจัดขึ้นตามมุมโน้มมุมนี้ตลอดทั้งปี
วันที่ 23 กันยายน 2563 เมืองเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้ขององค์การยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities) อย่างเป็นทางการโดยการนำเสนอของเทศบาลนครเชียงใหม่
ปี 2564 แนวคิดน้องใหม่อย่าง เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ก็ได้รับการแนะนำในรูปแบบงานวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในความร่วมมือของเทศบาลนครเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
น่าสนใจไม่น้อยว่าแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้จะส่งผลกับผู้คนและเมืองเชียงใหม่อย่างไร
1. เชียงใหม่ (หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่เขตการปกครองเทศบาลนครเชียงใหม่ 1. พื้นที่ย่านสถาบันเขตเมืองเก่า 2.ย่านค้าเก่ากาดหลวง ถนนท่าแพ ช้างคลาน และสันป่าข่อย 3.ย่านวัวลาย)
2. เชียงใหม่ (เทศบาลนครเชียงใหม่)
ในการดำเนินงานการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่เมืองแห่งการเรียนนั้น ค้นพบ PAIN POINT ที่สำคัญของเมือง
1. ยังมี "ช่องว่าง" ของการทำงานที่จะก่อให้เกิดการทบทวน สกัดบทเรียน เรียนรู้วางแผนในการพัฒนาเมืองแห่งการเรีบนรู้ร่วมกัน ดังนั้น ประเด็นของการ"เชื่อมต่อ" จึงเป็นประเด็นหลักและสำคัญมากในการผลักดันให้เกิด "เชียงใหม่นครแห่งการเรียนรู้" ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
2. กลไกในระดับชุมชน ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคงอยู่ของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ดีงามในชุมชน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้มีแผนการพัฒนาบุคคลากรรุ่นต่อไปขึ้นมารองรับ จึงทำให้กลไกของการยึดโยงต่างๆ เริ่มแสดงให้เห็นถึงร่องรอยของความอ่อนแอของระบบโครงข่ายท้องถิ่นชุมชน
3. ความเป็นไปได้ ในการทั้งเชื่อมองค์กรเมืองและผสานโครงข่ายท้องถิ่น นั่นคือ"เทศกาลเมือง" และ "นิเวศเมือง" ซึ่งเป็นสองประเด็นหลักที่ทีมวิจัยตั้งใจขยายเป็นโครงการย่อยที่จะนำเสนอในลำดับต่อไป
4. การสร้างผู้ตื่นรู้/พลเมืองเมืองหรือที่เรียกว่า ACTIVE CITIZEN นั้นยังไม่ได้คำตอบว่าต้องมีพัฒนาการเป็นอย่างไร เกิดการต่อยอดและขยายตัวของกลุ่มประชากรเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงไร ซึ่งกลไกและวิธีการในการสำรวจ ติดตาม ตรวจสอบ และวัดผลเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่ท้าทาย
5. การสร้าง "พื้นที่แห่งการเรียนรู้เมือง" ขึ้นให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
1. สร้างกลไกความร่วมมือในพื้นที่ และจัดทำข้อมูลกระบวนการ/กลไกการทำงานร่วมกัน ผ่านการร่วมเรียนรู้ ร่วมออกแบบ ร่วมคิด (co-create) ของภาคีเครือข่ายการเรียนรู้สู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
2. จัดทำแนวทางสู่การจัดทำแผนการพัฒนาศักยภาพเมืองเชียงใหม่ เพื่อยกระดับการเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO
3. สร้างเครือข่ายพลเมืองในเมืองเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ ตระหนัก และเข้ามาส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง
1. ออกแบบพื้นที่และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Space & Learning Activity)
1. สร้างความร่วมมือกับคนในเมือง (Collaboration) เพื่อพัฒนากลไกเมืองแห่งการเรียนรู้
2. เตรียมความพร้อมเมืองเพื่อยกระดับสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ UNESCO
3. ข้อมูลสถานการณ์เมืองเชียงใหม่ อันจะเป็นรากฐานสำคัญต่อการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้
การดำเนินการของชุดโครงการวิจัย "กลไกการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ เพื่อยกระดับการเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO" ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 2 โครงการย่อย คือ
โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนิเวศเมืองเชียงใหม่ สู่เมืองแห่งการเรียนรู้
โครงการย่อยที่ 2 การเชื่อมโยงนิเวศการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยทั้งชุดโครงการได้มุ่งเน้น
ในปี 2564 - 2565 เมืองเชียงใหม่จึงได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก บพท. ถึง 2 ทีม ได้แก่ ทีมศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว (CTRD) มช. นำโดย ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ และ ทีมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. นำโดย รศ.ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์
ประเด็นสำคัญของเมืองเชียงใหม่ (ปี 2565)
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมเมือง
1. ขาดแคลนพื้นที่สีเขียว
2. ฝุ่นควัน PM2.5
3. เชียงใหม่เมืองร้อน
ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ
1. ความไม่มั่นคงทางอาหาร
2. คลองแม่ข่าแก้จบที่รุ่นใคร?