กรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "กรุงเทพฯ" เป็น เมืองหลวงและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษาของประเทศไทย ด้วยประชากรกว่า 10 ล้านคน กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ยูเนสโกได้ประกาศรับรองให้กรุงเทพมหานครเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ (UNESCO Global Network of Learning Cities: GNLC) การเข้าร่วมเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของกรุงเทพฯ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกคน หลังจากได้รับการรับรอง กทม. ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เช่น "เทศกาลการอ่านการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร" ในเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2567 นอกจากนี้ กทม. ยังมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ที่เข้าถึงได้สำหรับประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน การได้รับการรับรองจากยูเนสโกเป็นแรงผลักดันให้กรุงเทพฯ เดินหน้าพัฒนานโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง
1. กรุงเทพมหานคร (ชุมชนเทเวศร์, ย่านตลาดสะพานขาว, ย่านตลาดนางเลิ้ง, ย่านตลาดโบ๊เบ๊, ย่านยศเส, ย่านวงเวียน 22, ย่านตลาดน้อย) 2. กรุงเทพมหานคร (ย่านกะดีจีน คลองสาน) 3. กรุงเทพมหานคร (คลองผดุงกรุงเกษม)
พื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้คลองผดุงกรุงเกษม เป็นพื้นประวัติศาสตร์ และพื้นที่เศรษฐกิจดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายทางพื้นที่ (กายภาพ) วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เครือข่ายความร่วมมือ และองค์ความรู้ดั้งเดิมระดับพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 6 เขต (ดุสิต พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน สัมพันธวงศ์ และบางรัก) การพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้พื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม ถูกลดความสำคัญในการพัฒนาระดับพื้นที่ แหล่งการเรียนรู้ดั้งเดิมของพื้นที่หายไป องค์ความรู้และศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นเลือนหายไป เนื่องจากการสืบทอดการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่คนรุ่นใหม่ลดลง การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ และเชิงกายภาพลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบริบทของพื้นที่เป็นเพียงพื้นที่เชื่อมต่อจากเมืองชั้นในไปสู่พื้นที่ CBD กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม เกิดนโยบายเพื่อการพัฒนาพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษมเชิงโครงสร้าง (ภูมิทัศน์, การคมนาคม) เชิงเศรษฐกิจ (ตลาดคลองผดุง) และเชิงมนุษย์ (ย่านสร้างสรรค์) เพื่อให้การพัฒนาระดับพื้นที่ "คลองผดุงกรุงเกษม" · ที่มีความยั่งยืนของการทำงานระดับพื้นที่ · เกิดการส่งต่อ/ถ่ายทอดองค์ความรู้จากรัฐสู่ชุมชน ชุมชนสู่รัฐ เอกชนสู่ภาครัฐ · เอกชนสู่ชุมชน และจากชุมชนสู่ชุมชนเพิ่มขึ้น · เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายร่วมดำเนินงานระดับพื้นที่ · เกิดเป็นการพัฒนาและเชื่อมต่อนโยบายของกรุงเทพมหานคร ผ่านกลไกจตุภาคี, URBAN CLASSROOM AND LIVING LAB ข้อมูลเมือง และธนาคารโครงการ
1. สร้างพื้นที่การเรียนรู้ 2. สร้างกลไกความร่วมมือในพื้นที่ 3. สร้างต้นแบบห้องวิจัยมีชีวิต 4. สร้างนโยบายโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณ และข้อมูลงบประมาณโครงการในพื้นที่ของภาครัฐ 5. เพื่อสร้างกระบวนการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมและพัฒนากลไกการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รอบคลองผดุงกรุงเกษม 6. เพื่อผลิต แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดองค์ความรู้ และพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้เมือง (URBAN LEARNING SPACE) 7. พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเมืองจากชุมชน และระบบคลังข้อมูลโครงการ ขับเคลื่อนการทำงานผ่าน 5 MISSION ฐานข้อมูลเมืองและธนาคารโครงการ, เครือข่ายความร่วมมือ (LEARNING HUB/ศูนย์การเรียนรู้), เครือข่ายความร่วมมือระดับพื้นที่ และนโยบาย, URBAN CLASSROOM AND LIVINGLAB, PARTICIPATORY BUDGETING และ CITY FORUM
1. การศึกษาเชิงพื้นที่ (LOCAL STUDY) แนวทางการศึกษาเกี่ยวกับเมืองผ่าน Urban Classroom & Living Lab 2. แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เช่น Gamification, Design Thinking 3. พื้นที่การเรียนรู้เมือง/ศูนย์การเรียนรู้เมือง
1. Urban Classroom & Living Lab ใช้พื้นที่เมืองเป็นห้องเรียนในการศึกษาปัญหาและออกแบบนวัตกรรม 2. เครื่องมือการมีส่วนร่วม เช่น Forum, Hackathon, PB Design เพื่อพัฒนานโยบายและโครงการ 3. ธนาคารโครงการเมือง ฐานข้อมูลแนวคิดและโครงการพัฒนาเมือง
ชื่อเมือง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok) สถานะ : เมืองหลวงของประเทศไทย พื้นที่ : ประมาณ 1,569 ตารางกิโลเมตร ประชากร : ตามทะเบียนราษฎร์ปี 2566 (2023) มีประชากรประมาณ 5.47 ล้านคน ภาษา : ภาษาไทย (ภาษาอังกฤษใช้ในบางพื้นที่) ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (มากกว่า 90%) แหล่งการเรียนรู้ 1. BACC (Bangkok Art & Culture Centre) 2. TK Park (Thailand Knowledge Park) 3. หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร 4. ศูนย์เรียนรู้ป๋วย 100 ปี 5. อุทยานการเรียนรู้และ Co-Learning Space ทั่วเมือง